เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ แบบ 3 เฟส และ มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

มาตรฐานเกี่ยวกับ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า กระแสสลับ มีอะไรบ้าง

มาตรฐานต่างๆนั้น เป็นข้อสรุป กฏเกณฑ์ และ คำแนะนำต่างๆ เกี่ยวกับ เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ ถูกจัดสร้างขึ้นโดยหน่วยงานที่น่าเชื่อถือต่างๆ ทั้งระดับนานาชาติ ระดับภูมิภาค ระดับประเทศ และ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญต่างๆ เช่น

ISO / IEC                                                                                         International Standard

EN / CE / ARSO / ESTI                                                                  Regional Standard

JIS / DIN / ANSI / BS / EIT                                                           National Standard

NEMA / IEEE / EGSA                                                         Group Standard

          หน่วยงานเหล่านี้ จะร่างและออกแบบมาตรฐานของตนเอง ตั้งแต่การกำหนดค่าของอุปกรณ์ต่างๆ  การออกแบบ การติดตั้ง รวมไปถึงการบำรุงรักษาด้วยในบางมาตรฐาน

อย่างไรก็ดี ปัจจุบันมาตรฐานทั่วไปที่ใช้กัน เกี่ยวกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่สำคัญและใช้กันอย่างแพร่หลายที่สุด มี 3 มาตรฐานหลัก คือ มาตรฐาน ISO 3046 / IEC 60034 / ISO8528

Generator set standard

  1. ISO8525 ถูกวางกรอบไว้โดยองค์กร ISO ซึ่งเป็นองค์กรนานาชาติ สากล โดย ISO8528 นั้น จะกล่าวถึง ชุด เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ ทั้งหมด
  2. ISO3046 ถูกวางกรอบไว้โดยองค์กร ISO เช่นกัน โดยจะกล่าวถึงตัวเครื่องยนต์ ต้นกำลัง ไม่ใช่ ชุด เครื่องกำเนิดไฟฟ้า โดยรวม โดยจะกล่าวรวมถึงเครื่องยนต์ ที่ใช้ในอุตสาหกรรม รถไฟ เรือ รวมไปถึง ที่ใช้ขับเคลื่อน ตัว เครื่องกำเนิดไฟฟ้าด้วย
  3. IEC60034 ถูกร่างและกำหนดโดยกลุ่ม IEC (Internaltional Electrical Commitee) ซึ่งเป็นองค์กรสากลด้านไฟฟ้า โดยจะเป็นข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับ ตัว เครื่องกำเนิดไฟฟ้าโดยเฉพาะ

ISO 3046

Reciprocating Internal Combustion Engine (RIC) use for Land, rail traction and marine

มาตรฐาน ISO 3046 เป็นมาตรฐานที่เกี่ยวกับ เครื่องยนต์ดีเซล ที่ใช้เป็นต้นกำลังของ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า แบ่งออกเป็น 5 ส่วน ครอบคลุมส่วนต่างๆ เหล่านี้

Part – ภาษาอังกฤษ

ภาษาไทย
ISO3046-1 : Declaration of power, fuel and lubricating oil consumptions, and test methods – Additional requirements for engines for general use. ส่วนที่ 1 จะกล่าวถึงการกำหนดพิกัดต่างๆ เช่น กำลังของเครื่องยนต์ อัตราการใช้น้ำมัน และ น้ำมันเครื่อง รวมไปถึงวิธีการทดสอบเครื่องยนต์ และเพิ่มเติมเงื่อนไขบางข้อสำหรับเครื่องยนต์สำหรับการใช้งานทั่วไป
ISO3046-3 : Test measurements ส่วนที่ 3 จะกล่าวถึงการทดสอบและการวัดค่าต่างๆ
ISO3046-4 Speed governing ส่วนที่ 4 จะกล่าวถึงเรื่องการควบคุมความเร็วรอบของเครื่องยนต์
ISO3046-5 Torsional vibrations ส่วนที่ 5 จะกล่าวถึงความสั่นสะเทือน แบบบิดตัว (Torsional vibration) ขณะเครื่องยนต์ทำงาน
ISO3046-6 Overspeed Protection ส่วนที่ 6 จะกล่าวถึงการป้องกันความเสียหายที่เกิดจาก Overspeed หรือ เครื่องยนต์ทำงานที่ความเร็วรอบสูงเกินไป

IEC 60034

Rotating Machines (includes motor and generator)

มาตรฐานนี้ เป็นมาตรฐานสำหรับ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า และ มอเตอร์ แบ่งออกได้มากกว่า 30 ส่วน แต่ส่วนที่เกี่ยวข้องกับตัว เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ที่น่าสนใจนั้น มีดังนี้

Part

ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย
IEC60034-1 Rating and performance พิกัด และ ประสิทธิภาพ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า
IEC60034-2 Method for determining losses and efficiency or rotating electrical machinery from tests วิธีการหาความสูญเสีย และ ประสิทธิภาพของ เครื่องจักรไฟฟ้าแบบหมุน จากการทดสอบ
IEC60034-5 Degrees of protection provided by the integral design of rotating electrical machines (IP Code) classification มาตรฐานการป้องกัน IP Code ของ เครื่องจักรไฟฟ้าแบบหมุน
IEC60034-6 Method of cooling (IC) วิธีการ cooling
IEC60034-7 Classification of types of construction, mounting arrangements and terminal box position (IM code) การแบ่งชนิด ตามลักษณะโครงสร้าง การจับยึด และจุดต่อสาย
IEC60034-8 Terminal markings and direction of rotation การทำสัญลักษณ์ขั้วสายและทิศทางการหมุน
IEC60034-11 Thermal protection การป้องกันความเสียหายจากอุณหภูมิ
IEC60034-14 Mechanical vibration of certain machines with shaft heights 56mm and higher – measurement, evaluation and limits of vibration severity การสั่นสะเทือนทางกลของเครื่องจักรไฟฟ้าแบบหมุน ที่ shaft มีความสูงมากกว่า 56 มม. – การวัด การทดสอบและลิมิตของการสั่นสะเทือน
IEC60034-22 Rotating electrical machines. AC generator for reciprocating internal combustion (RIC) engine driven generating sets. เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ที่ถูกขับเคลื่อนด้วย เครื่องยนต์ แบบสันดาบภายใน เพื่อใช้เป็นชุด เครื่องกำเนิดไฟฟ้า

ISO 8528

มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับตัวชุด เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (GENERATING SET) โดยเฉพาะ

เครื่องกำเนิดไฟฟ้า Mitsubishi

มาตรฐาน ISO8528 ประกอบไปด้วย Part ต่างๆ โดยแต่ละ part จะมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับส่วนต่างๆ ของ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า เช่นส่วนที่เกี่ยวกับ เครื่องยนต์ ขับ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า โดยมาตรฐานนี้จะถูกแบ่งออกเป็น 12 ส่วน (12 parts) ดังนี้

Part ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย
ISO8528-1 Application, ratings and performance การใช้งาน พิกัด และ ประสิทธิภาพ

อ่านต่อ : บทความเรื่องพิกัดการใช้งาน

ISO8528-2 Engines เครื่องยนต์ต้นกำลัง
ISO8528-3 Alternating current generator for generator sets เครื่องกำเนิดไฟฟ้า กระแสสลับ สำหรับ ชุด เครื่องกำเนิดไฟฟ้า
ISO8528-4 Control gear and switchgear อุปกรณ์ควบคุม และ สวิตซ์เกียร์
ISO8528-5 Generating sets ชุด เครื่องกำเนิดไฟฟ้า
ISO8528-6 Test methods วิธีการทดสอบ
ISO8528-7 Technical declarations for specification and design การแสดงสเปค และ การออกแบบ
ISO8528-8 Requirements and tests for low-power generating sets ข้อกำหนด และ การทดสอบ ของ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ที่ผลิตกำลังงานขนาดเล็ก
ISO8528-9 Measurement and evaluation of mechanical vibrations การวัด และ การตรวจสอบ การสั่นสะเทือนทางกล
ISO8528-10 Measurement of airborne noise by enveloping surface

method

การวัดเสียง โดยวิธี enveloping surface
ISO8528-11 Rotary uninterruptable power systems – Performance

requirements and test methods

Rotary UPS ประสิทธิภาพ และข้อกำหนด การทดสอบ
ISO8528-12 Emergency power supplies to safety services ระบบไฟฟ้าสำรอง สำหรับอุปกรณ์ความปลอดภัย

นอกจากนี้แล้วยังมีมาตรฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย เช่น มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า ของ สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) และ มาตรฐานการติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ของวสท. ที่อ้างอิงมาจาก NFPA 110 ของสหรัฐอเมิรกา และ มาตรฐาน ISO8528 เป็นหลัก

ในบางครั้ง จะเห็นว่า มีมาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวกับ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าอยู่หลายอย่าง ที่ไม่ได้กล่าวถึงในที่นี้ แต่อาจะได้พบเห็นตามโบรชัวร์ และ แคตตาล๊อกได้ทั่วไปเช่น NEMA MG, VDE, BS4999/5000, BS5514, DIN6271 เป็นต้น

มาตรฐานเหล่านี้ ส่วนใหญ่ เป็นมาตรฐานประจำชาติต่างๆ ที่แตกต่างกันออกไป เช่น BS ของอังกฤษ, DIN ของเยอรมัน แต่อย่างไรก็ดี มาตรฐานเหล่านี้ ปัจจุบัน ได้เขียนตามมาตรฐานสากล คือ ISO3046 หรือ ISO8528 และ นำไปทำเป็นฉบับประจำชาติขอตัวเอง โดยอาจจะมีการแปลภาษาไปด้วย ดังเช่น มาตรฐานของประเทศไทย